วัดพระแก้ว
(1) BTS ต่อเรือด่วนเจ้าพระยา
วิธีแรกนี้ ถือว่าเป็นวิธีที่สะดวกที่สุด ง่ายที่สุด และเร็วที่สุด เพราะรถไฟฟ้า BTS มีตลอดแทบทั้งวัน ไม่เกิดปัญหารถติดกวนใจแน่นอน โดยลง BTS สถานีสะพานตากสิน ทางออก 2 แล้วก็เดินไปทางแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านใต้สะพานท่าเรือสาทร ลงเรือด่วนเจ้าพระยา ธงสีส้มที่มีวิ่งอยู่ตลอด เมื่อขึ้นเรือที่ ท่าช้าง (N9)ใช้เวลาเดินอีกประมาณ 5 นาที ก็ถึงประตูทางเข้าวัดพระแก้วแล้วจ้า…เร็วใช่มั้ยล่ะ…
วิธีแรกนี้ ถือว่าเป็นวิธีที่สะดวกที่สุด ง่ายที่สุด และเร็วที่สุด เพราะรถไฟฟ้า BTS มีตลอดแทบทั้งวัน ไม่เกิดปัญหารถติดกวนใจแน่นอน โดยลง BTS สถานีสะพานตากสิน ทางออก 2 แล้วก็เดินไปทางแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านใต้สะพานท่าเรือสาทร ลงเรือด่วนเจ้าพระยา ธงสีส้มที่มีวิ่งอยู่ตลอด เมื่อขึ้นเรือที่ ท่าช้าง (N9)ใช้เวลาเดินอีกประมาณ 5 นาที ก็ถึงประตูทางเข้าวัดพระแก้วแล้วจ้า…เร็วใช่มั้ยล่ะ…
(2) BTS ต่อรถเมล์
วิธีนี้เป็นวิธีที่เร็วพอสมควร รถไฟ BTS ช่วยลดระยะทางที่รถติดไปได้ แต่ก็ยังต้องต่อรถเมล์ ซึ่งเวลาอาจจะไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับการจราจรในขณะนั้นด้วย วิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยกับการลงเรือในกรุงเทพ และยังพอมีเวลา ไม่เร่งรีบมากนัก BTS จุดที่สามารถต่อรถเมล์มีได้หลายจุด ขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้เดินทาง
– BTS สนามกีฬาแห่งชาติ ต่อรถเมล์ ก็สามารถทำได้โดย ลง BTS สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ทางออก 2 เดินมารอรถเมล์ที่หน้าสนามกีฬาแห่งชาติ รถเมล์ที่ผ่านคือ สาย 15, 47, 508
– BTS สยาม ต่อรถเมล์ เมื่อลง BTS สถานีสยาม เดินลงฝั่งตรงข้ามสยามพารากอน ต่อรถเมล์ สาย 15, 25, 508
(3) MRT หัวลำโพง ต่อรถเมล์
การใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT อาจจะสะดวกกับนักท่องเที่ยวหลาย ๆ คน แม้ว่าการต่อรถไปวัดพระแก้ว อาจจะไม่สะดวกรวดเร็วเท่ากับจุดที่แนะนำไว้ ตามข้อ 1 และ 2 แต่ถ้าหากไม่ต้องการเสียค่าใช้จ่ายหลายต่อ รถไฟฟ้าใต้ดิน ก็ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยเช่นกัน
– MRT สถานีหัวลำโพง ทางออก 4 เดินไปทางโรงแรมบางกอกเซ็นเตอร์ต่อรถเมล์สาย 25, 53
(4) เรือข้ามฟาก ท่าวังหลัง(พรานนก) หรือท่าศิริราช ต่อรถเมล์
วิธีนี้น่าจะเหมาะสำหรับคนที่อยู่ฝั่งธนฯ คนที่สะดวกมาทางโรงพยาบาลศิริราช หรือคนที่นั่งเรือมาลงที่ท่าวังหลัง ก็สามารถนั่งเรือข้ามฟากมาขึ้นที่ท่าช้าง เพื่อไปยังวัดพระแก้วได้เลย ค่าเรือข้ามฟากเพียงแค่ 3 บาท ระวังนิดนึงตรงที่ว่า ท่านี้มีไปขึ้น ที่ท่าช้าง กับท่าวัดมหาธาตุ เวลาลงเรือควรสังเกตุว่าเป็นเรือที่ไปท่าไหน
– รถเมล์ผ่านแยกศิริราช สาย 19, 57, 81, 91, 149, 157, 169, 177
วิธีนี้น่าจะเหมาะสำหรับคนที่อยู่ฝั่งธนฯ คนที่สะดวกมาทางโรงพยาบาลศิริราช หรือคนที่นั่งเรือมาลงที่ท่าวังหลัง ก็สามารถนั่งเรือข้ามฟากมาขึ้นที่ท่าช้าง เพื่อไปยังวัดพระแก้วได้เลย ค่าเรือข้ามฟากเพียงแค่ 3 บาท ระวังนิดนึงตรงที่ว่า ท่านี้มีไปขึ้น ที่ท่าช้าง กับท่าวัดมหาธาตุ เวลาลงเรือควรสังเกตุว่าเป็นเรือที่ไปท่าไหน
– รถเมล์ผ่านแยกศิริราช สาย 19, 57, 81, 91, 149, 157, 169, 177
(5) การเดินทางด้วยรถส่วนตัว
หลายๆ คนที่คิดว่าจะขับรถไปวัดพระแก้วนั้น เรื่องที่น่าหนักใจอย่างหนึ่งก็คือการหาที่จอดรถ ซึ่งจริง ๆแล้วก็เป็นเช่นนั้น เพราะการวัดพระแก้วเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีคนแวะมามาก การหาที่จอดรถจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยาก อาจจะต้องจอดในที่ไกลออกไปหน่อย แล้วค่อยต่อรถมาวัดพระแก้ว เที่ยวกันมั้ย? จึงนำจุดจอดรถส่วนตัวมาฝากกัน ตามนี้เลยจ้า…
จุดจอดรถยนต์
– วัดมหาธาตุ ที่จอดรถอยู่ในวัดมหาธาตุ มีที่จอดรถค่อนข้างจำกัด ใครมาก่อนได้ก่อนจ้า… (ค่าจอดชั่วโมงละ 20 บาท)
– ท่ามหาราช ซอยทวีผล เข้าทางถนนมหาราช ซอยอยู่ตรงข้ามวัดมหาธาตุ (ค่าจอดชั่วโมงละ 30 บาท)
– ข้างศาลหลักเมือง
– ลานจอดรถถนนราชดำเนิน มาจากถนนข้าวสาร เลี้ยวซ้ายเข้าถนนราชดำเนินกลาง พ้นโค้งไปนิดนึง ทางเข้าที่จอดรถอยู่ซ้ายมือ (ค่าจอดชั่วโมงละ 20 บาท)
– ซอยข้างวัดโพธิ์ จากหน้าวัดพระแก้ว วิ่งไปบนถนนมหาราช ผ่านท่าเตียน เลยทางเข้าวัดโพธิ์ ไปทางปากคลองตลาด ซ้ายมือมีซอยข้างวัดโพธิ์ (ค่าจอดชั่วโมงละ 20 บาท)
– อาคารจอดรถวัดระฆัง ถนนอรุณอัมรินทร์ เข้าซอย 18 (ซอยวัดระฆัง) อาคารจอดรถอยู่ทางซ้ายมือ แล้วนั่งเรือข้ามฟากจากวัดระฆังมาขึ้นท่าช้าง (ค่าจอดชั่วโมงละ 20 บาท ค่าเรือข้ามฟาก 3 บาท)
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.tiewkanmai.com/travel-1166/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA/